การบันทึกชื่อสินค้า

Navigation:  บทที่ 3 การรับสินค้าเข้าคลัง >

การบันทึกชื่อสินค้า

Previous pageReturn to chapter overviewNext page

การบันทึกชื่อสินค้า

 ในการบันทึกชื่อสินค้านี้ ผู้ใช้สามารถเพิ่มชื่อสินค้าได้โดยไปที่ เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า ในการทำงานส่วนนี้จะเป็นการเพิ่มชื่อสินค้าลงระบบโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1.) ส่วนที่เป็นการกำหนดค่ามาตรฐาน 2.) ส่วนที่เป็นการกำหนดคุณสมบัติของสินค้า ดังรูปที่ 3-1 การเพิ่มชื่อสินค้า

โดยในการเพิ่มชื่อสินค้านี้ถ้าเป็นสินค้าใหม่ ให้ผู้ใช้กดปุ่ม ปุ่ม New เพื่อสร้างสินค้าใหม่

เพิ่มชื่อสินค้า

รูปที่ 3-1 การเพิ่มชื่อสินค้า

ส่วนการกำหนดชื่อมาตรฐาน

 โดยในการเพิ่มชื่อสินค้าจะมีรายละเอียดดังนี้

1.) รหัสสินค้า

คือ รหัสของสินค้า

2.) ชนิดสินค้า

คือ ชนิดของสินค้า ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1.) สินค้าทั่วไป 2.) สินค้าบริการ

3.) ชื่อสินค้า

คือ ชื่อของสินค้า

4.) สถานะ

คือ สถานะของสินค้า มีอยู่ 2 สถานะ คือ 1.) ขาย 2.) เลิกขาย

5.) ประเภทต้นทุน

คือ ประเภทต้นทุนของสินค้า มีอยู่ 3 แบบ คือ

1.) ต้นทุนเฉลี่ย

2.) ต้นทุนมาตรฐาน

3.) ต้นทุน FIFO

6.) คลังเริ่มต้น

คือ คลังสินค้าที่จะให้เก็บชื่อสินค้า

7.) นับ Stock

คือ สถานะของสินค้า มีอยู่ 2 สถานะ คือ 1.) ติดลบได้ 2.) ติดลบไม่ได้

8.) รหัสยี่ห้อ

คือ ยี่ห้อของสินค้า ผู้ใช้สามารถเลือกได้จากการกดปุ่มค้นหา เมนูค้นหา

9.) รหัสกลุ่ม

คือ รหัสของกลุ่มประเภทสินค้า เช่น เครื่องดื่ม, ขนม, อื่น ๆ เป็นต้น

10.) หน่วยนับ

คือ หน่วยนับของสินค้า

11.) จุดต่ำสุด

คือ จุดต่ำสุดของสินค้า

12.) จุดสูงสุด

คือ จุดสูงสุดของสินค้า

13.) หลายหน่วยนับ

คือ การตั้งค่าให้สินค้านี้มีค่าเป็นหลายหน่วยนับ เช่น กรณีที่น้ำมีค่าหน่วยนับเป็นขวด และอาจมีค่าหน่วยนับเป็นลัง ได้เช่นเดียวกัน

14.) คิดภาษี

คือ ให้สินค้านี้เป็นประเภทคิดภาษีด้วยหรือไม่

15.) ไม่ล้างรายการเมื่อกดปุ่ม New

คือ ระบบจะไม่ล้างรายการเมื่อมีการกดปุ่ม New ( ผู้ใช้อาจมีการเพิ่มสินค้าหลายชนิดที่คล้าย ๆ กัน ผู้ใช้จะได้ไม่ต้องพิมพ์หลายครั้ง )

16.) ราคาขาย 1,2,3,4

เป็นราคาขายมาตรสำหรับลูกค้าประเภทต่าง ๆ เช่

ราคาขาย 1          คือ ราคาขายมาตรฐานสำหรับกลุ่มลูกค้าประเภท 1

ราคาขาย 2          คือ ราคาขายมาตรฐานสำหรับกลุ่มลูกค้าประเภท 2

ราคาขาย 3          คือ ราคาขายมาตรฐานสำหรับกลุ่มลูกค้าประเภท 3

ราคาขาย 4          คือ ราคาขายมาตรฐานสำหรับกลุ่มลูกค้าประเภท 4

17.) ยอดคงเหลือ        

คือ ยอดคงเหลือของสินค้าที่มีอยู่ในคลัง

18.) ยอด V

คือ

19.) ยอด nV

คือ

20.) ปริมาณ/หน่วย

คือ

21.) ต้ังค่า ICON สินค้า

คือ การตั้งค่า ICON ของสินค้า

22.) รายการเคลื่อนไหวของสินค้ารายตัว

คือ

23.) รายการเคลื่อนไหวมูลค่าสินค้า

คือ

24.) คำนวนจำนวนคงเหลือ

คือ

 

 

ส่วนที่เป็นการกำหนดคุณสมบัติของสินค้า

 ในการกำหนดคุณสมบัตินี้ จะอยู่ในส่วนของแท็บต่าง ๆ

 เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ คงเหลือตามหน่วย

         ในแถบนี้จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า ว่ามีสินค้าเหลือเท่าไหร่

 

 เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ BarCode

         ในแถบนี้จะเป็นแถบสำหรับไว้เพิ่มเลขที่บาร์โค๊ดของสินค้า ผู้ใช้สามารถเพิ่มบาร์โค๊ดของสินค้าได้โดย

 การกดที่ เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ Barcode -> เพิ่ม Barcode เมื่อผู้ใช้กดปุ่มเพิ่ม Barcode ระบบจะแสดงไดอะล็อกให้เพิ่มรายละเอียด

 ดังรูปที่ 3-2 การบันทึกบาร์โค๊ดสินค้า

บันทึกแถบบาร์โค๊ด

รูปที่ 3-2 การบันทึกบาร์โค๊ดสินค้า

 

จากรูปที่ 3-2 การบันทึกบาร์โค๊ดสินค้า จะมีรายละเอียดดังนี้

1.) รหัสสินค้า

คือ รหัสสินค้าที่จะเพิ่มบาร์โค๊ด

2.) Barcode

คือ หมายเลข Barcode ของสินค้า

3.) Remark

คือ คำอธิบายของสินค้า

4.) หน่วย

คือ หน่วยของสินค้า โดยการเพิ่มหน่วยสินค้า ผู้ใช้สามารถเพิ่มหน่วยสินค้าได้โดยการกด เมนูค้นหา เพื่อเลือกหน่วยของสินค้า

 

 จากนั้นให้ผู้ใช้กดปุ่ม บันทึก เพื่อทำการบันทึกข้อมูล

 

 เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ ระดับราคาขาย

         ในแถบนี้จะเป็นแถบสำหรับไว้เพิ่มราคาขาย ในส่วนการกำหนดราคาในส่วนนี้ จะสามารถกำหนดช่วงของการขายได้ เช่น

ลูกค้ากลุ่มที่ 1 ขายสินค้าชิ้นที่ 1 ราคา 1,300 บาท

ลูกค้ากลุ่มที่ 2 ขายสินค้าชิ้นที่ 1 ราคา 1,200 บาท

ลูกค้ากลุ่มที่ 3 ขายสินค้าชิ้นที่ 1 ราคา 1,100 บาท

ลูกค้ากลุ่มที่ 4 ขายสินค้าชิ้นที่ 1 ราคา 1,000 บาท เป็นต้น

 

 โดยผู้ใช้สามารถเพิ่มได้โดยเข้าไปที่ เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ ระดับราคาขาย -> เพิ่ม

 เพิ่มระดับราคาขาย

รูปที่ 3-3 การเพิ่มระดับราคาขาย

 เมื่อกรอกราคาตามที่ต้องการขายแล้วให้ผู้ใช้กดปุ่ม บันทึก เพื่อทำการบันทึกข้อมูล

 

 เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ ผู้จำหน่าย

         ในส่วนนี้จะเป็นการกำหนดชื่อหรือบริษัทที่จัดจำหน่ายสินค้าตัวนี้ว่ามีบริษัท/ ผู้จัดจำหน่ายรายใดบ้าง

 ผู้ใช้สามารถเพิ่มผู้จำหน่ายได้โดยคลิกไปที่ เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ ผู้จำหน่าย -> ปุ่มเพิ่มผู้จำหน่าย จากนั้นระบบจะแสดงรายการบริษัทที่เราเคยติดต่อไว้

 ดังรูปที่ 3-4 การเพิ่มผู้จำหน่ายสินค้าให้กับสินค้า

เพิ่มผู้จำหน่าย

รูปที่ 3-4 การเพิ่มผู้จำหน่ายสินค้าให้กับสินค้า

 จากนั้นให้ผู้ใช้ทำการเลือกรายชื่อบริษัทที่จัดจำหน่ายสินค้าตัวนี้

 

 เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ Function

         ในส่วนนี้จะเป็นการปรับปรุงจำนวนคงเหลือของสินค้าให้ถูกต้อง ในกรณีที่จำนวนสินค้ามีการเปลี่ยนแปลง

 

 เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ Spec Detail

         ในส่วนนี้จะเป็นการเพิ่มรายละเอียดของสินค้า เช่น รายละเอียดของคอมพิวเตอร์เซตนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง

 

 เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ Spec Detail

         ใช้ในการแสดงมูลค่าของสินค้าที่อยู่ภายในคลังสินค้าทั้งหมด และกำหนดต้นทุนมาตรฐานของสินค้าโดยใส่ราคาต้นทุนมาตรฐานในช่อง "ต้นทุนมาตรฐาน"

 

 เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ รูปภาพ

         ใช้ในการกำหนดรูปภาพของสินค้าให้กับสินค้า โดยผู้ใช้สามารถเพิ่มรูปภาพได้โดยการกดที่ เมนูสินค้าคงคลัง -> บันทึกชื่อสินค้า -> เมนูแท็บ รูปภาพ -> Browse

 จากนั้นระบบจะแสดงหน้าต่างเบราซ์ขึ้นมาสำหรับหาไดเรกทอรี่รูปภาพ ดังรูปที่ 3-5 อัพโหลดรูปภาพสินค้า

หน้าต่างเบราซ์

ดังรูปที่ 3-5 อัพโหลดรูปภาพสินค้า

 จากนั้นผู้ใช้ก็เปิดไดเรกทอรี่ที่รูปภาพอยู่ ทำการเลือกรูปภาพ แล้วกดปุ่ม Open เมื่อเสร็จแล้วให้ผู้ใช้กดปุ่ม save เพื่อทำการบันทึกภาพ