ในเริ่มแรกของโปรแกรม ผู้ใช้ต้องทำการกำหนดค่าเริ่มต้นของบริษัทก่อนเพื่อกำหนดค่าในฟอร์มสำหรับการทำงานของระบบและรายงาน
โดยให้ผู้ใช้ไปที่ เมนูจัดการระบบ -> กำหนดค่าเริ่มต้น ระบบจะแสดงหน้าเมนูสำหรับกำหนดค่าเริ่มต้นของบริษัท ดังรูปที่ 2-3 การกำหนดค่าเริ่มต้นบริษัท
รูปที่ 2-3 การกำหนดค่าเริ่มต้นบริษัท
โดยเมนูกำหนดค่าเริ่มต้นบริษัทจะมีรายละเอียดดังนี้
1.) ชื่อบริษัท |
คือ ชื่อบริษัท |
2.) ชื่อผู้ประกอบการ |
คือ ชื่อผู้ประกอบการ |
3.) ที่อยู่ |
คือ ที่อยู่ของบริษัท หรือ สาขานั้น |
4.) หมายเลขโทรศัพท์ |
คือ หมายเลขโทรศัพท์ของบริษัท หรือ สาขานั้น |
5.) เลขประจำตัวผู้เสียภาษี |
คือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท |
6.) ประเภทภาษี |
ซึ่งจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทในและประเภทนอก |
6.1) ประเภทใน หมายถึง คิดภาษีรวมกับสินค้า |
|
6.2) ประเภทนอก หมายถึง คิดภาษีแยกกับสินค้า |
|
7.) อัตราภาษี |
คือ อัตราภาษีที่บริษัทใช้ |
8.) ลูกหนี้เกินวงเงิน |
ซึ่งจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ แจ้งเตือนกับไม่แจ้งเตือน |
8.1) แจ้งเตือน หมายถึง ให้ทำการแจ้งเตือนในกรณีที่ลูกหนี้มียอดเกินวงเงินที่กำหนดไว้ |
|
8.2) ไม่แจ้งเตือน หมายถึง ไม่ต้องทำการแจ้งเตือนในกรณีที่ลูกหนี้มียอดเกินวงเงินที่กำหนดไว้ |
|
9.) สถานะสต๊อก |
ซึ่งจะมีอยู่ 3 รูปแบบคือ ติดลบได้, ติดลบไม่ได้, ไม่นับสต็อก ในการเลือกใช้งานต้องดูถึงการใช้งานหลักของเรา |
9.1) ติดลบได้ หมายถึง ให้สถานะสต็อกสินค้าสามารถติดลบได้ |
|
9.2) ติดลบไม่ได้ หมายถึง ให้สถานะสต็อกสินค้าไม่สามารถติดลบได้ |
|
9.3) ไม่นับสต๊อก หมายถึง ไม่นับสต็อกสินค้าในการใช้งาน |
|
10.) จำนวนสินค้า |
เป็นการกำหนดจำนวนสินค้าที่ต้องการให้ระบบดึงไปแสดงในรายการแรก |
11.) สาขาเริ่มต้น |
คือ สาขาเริ่มต้นในการใช้งานโปรแกรม |
12.) ชื่อลูกหนี้เริ่มต้น |
หมายถึง ตั่งค่าชื่อลูกหนี้เริ่มต้นเมื่อทำการขายสินค้า |
13.) เตือนราคาขายต่ำกว่าทุน |
เป็นการเปิด / ปิด การแจ้งเตือนเมื่อมีราคาขายต่ำกว่าทุน |
14.) ถามรหัสผ่านทุกครั้งที่เมื่อบันทึกบิลขาย |
คือ โปรแกรมจะถามรหัสผ่านทุกครั้งที่ขายสินค้า |
15.) พิมพ์บิลขายทุกครั้งที่บันทึก |
คือ โปรแกรมจะพิมพ์บิลใบเสร็จทุกครั้งที่มีการขาย |